ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการสอนสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๑
—————————–
เพื่อการประเมินผลการสอนของคณาจารย์ที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ประจำซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามข้อ ๘ แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ประจำซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิการบดีโดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการสอนสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๑”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้คณบดีหรือหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าสาขาวิชาประเมินผลการสอนในชั้นต้นว่า ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมีผลการสอนอยู่ในเกณฑ์ที่คณะกำหนดหรือไม่
ข้อ ๔ ให้คณบดีแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนขึ้นชุดหนึ่งได้ตามความเหมาะสม
ข้อ ๕ ให้คณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนทำหน้าที่ประเมินผลการสอนของผู้ขอ
กำหนดตำแหน่งทางวิชาการ โดยพิจารณาแนวทางตามแนวทางดังต่อไปนี้
๕.๑ มีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนและคัดเลือกวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสม เพื่อให้ผลการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้โดย
เสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอนที่ตนได้สอนหรือสอนร่วมและเป็นผู้จัดทำหรือผลิต
ขึ้นเอง อย่างน้อย ๑ รายวิชา หรือหลายวิชารวมกันเท่ากับจำนวนชั่วโมงสอนในหนึ่งรายวิชาที่มี ๓ หน่วยกิต
(คำนิยามรูปแบบการเผยแพร่และลักษณะคุณภาพดังตารางแนบท้าย) ซึ่งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการและกฎหมาย
๕.๒ มีความสามารถในการใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและติดตามการสอนตลอดเวลา เช่น ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างประกอบ สอดแทรกประสบการณ์จริง หรือ
ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดและตอบคำถามให้เข้าใจได้ชัดเจน
๕.๓ มีความสามารถที่จะสอนให้ผู้เรียนสามารถเสาะแสวงหาความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ด้วยความมีวิจารณญาณ รู้ว่าแหล่งความรู้ใดที่ควรเชื่อถือ สามารถเป็นผู้เรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต (lifelong learner)
๕.๔ มีความสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้อย่างมีเหตุผลในวิชาที่สอน
๕.๕ มีความสามารถให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของวิชาที่เรียนกับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
๕.๖ มีความสามารถจัดให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามความเหมาะสม
๕.๗ มีความสามารถในการใช้สื่อการสอนและอุปกรณ์ช่วยสอนที่ทันสมัยเหมาะสมเป็นอย่างดีสามารถจำลองสถานการณ์สมมติเพื่อให้ผู้เรียนเข้าร่วมอย่างกระตือรือร้น
๕.๘ มีความสามารถที่จะสอดแทรกเทคนิคการมีปฏิสัมพันธ์ การร่วมงาน ความสามารถในการแสดงออก การแก้ปัญหา การปรับ และรับความคิดเห็น
๕.๙ มีความสามารถในการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนในวิชาที่สอน
ข้อ ๖ ให้คณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอน จัดทำแบบประเมินผลการสอนตามแนวทางในข้อ ๕
ข้อ ๗ ให้คณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอน ประเมินผลการสอนว่าอยู่ในระดับใด ดังนี้
๗.๑ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องมีผลการประเมินผลการสอนอยู่ในระดับดีขึ้นไป จึงจะถือว่ามีผลประเมินผลการสอนในระดับชำนาญในการสอน (คำนิยามรูปแบบการเผยแพร่และและลักษณะคุณภาพดังตารางแนบท้ายแบบที่ ๑)
๗.๒ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องมีผลการประเมินผลการสอนอยู่ในระดับดีขึ้นไป จึงจะถือว่ามีผลประเมินผลการสอนในระดับชำนาญพิเศษในการสอน (คำนิยามรูปแบบการเผยแพร่
และลักษณะคุณภาพดังตารางแนบท้ายแบบที่ ๒)
ข้อ ๘ ให้หน่วยงานเสนอผลการประเมินผลการสอนพร้อมเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการ
ประเมินผลการสอนตามข้อ ๕.๑ ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ไปพร้อมกับผลงานทาง
วิชาการของอาจารย์ผู้ขอให้พิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
(รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ)
อธิการบดี
คำนิยาม รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอน
แบบที่ ๑ สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
นิยาม ผลงานทางวิชาการที่เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบในการประเมินผลการสอน
วิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็น
เนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบจัดเป็นเครื่องมือสำคัญของ
ผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน
รูปแบบ เป็นเอกสารหรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอน ประกอบด้วย
แผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบพอสมควร) และ
อาจมีสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้นอีกก็ได้ เช่น รายชื่อบทความหรือ
หนังสืออ่านประกอบ บทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) ภาพเคลื่อนไหว (video) ภาพเลื่อน (slide)
หรือสื่อการสอนออนไลน์อื่น ๆ ซึ่งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การเผยแพร่ อาจเป็นเอกสารที่จัดทำเป็นรูปเล่มหรือถ่ายสำเนาเย็บเล่มหรือเป็นสื่ออื่น ๆ
อาทิ ซีดีรอม ที่ได้ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตรของ
สถาบันอุดมศึกษามาแล้ว
ลักษณะคุณภาพ ระดับดีขึ้นไป
คำนิยาม รูปแบบ การเผยแพร่ และลักษณะคุณภาพของเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอน
แบบที่ ๒ สำหรับการขอกำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์
นิยาม ผลงานทางวิชาการที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของ
สถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาที่สอนและวิธีการสอน
อย่างเป็นระบบ โดยอาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารประกอบการสอนจนมี
ความสมบูรณ์ว่าเอกสารประกอบการสอน จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของ
ผู้เรียนที่นำไปศึกษาด้วยตนเองหรือเพิ่มเติมขึ้นจากการเรียนในวิชานั้น ๆ
รูปแบบ เป็นเอกสารรูปเล่มหรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาที่ตนสอน ประกอบด้วย
แผนการสอน หัวข้อบรรยาย (มีรายละเอียดประกอบพอสมควร) และมี
สิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้น เช่น รายชื่อบทความหรือหนังสืออ่านประกอบ
บทเรียบเรียงคัดย่อเอกสารที่เกี่ยวเนื่อง แผนภูมิ (chart) แถบเสียง (tape) ภาพเคลื่อนไหว (video) ภาพเลื่อน (slide) ตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่ใช้
ประกอบการอธิบายภาพ แบบฝึกปฏิบัติ รวมทั้งการอ้างอิงเพื่อขยายความ
ที่มาของสาระและข้อมูลและบรรณานุกรมที่ทันสมัยและถูกต้องตาม
กฎหมาย
การเผยแพร่ ต้องได้รับการจัดทำเป็นรูปเล่มด้วยการพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่มหรือสื่อ
อื่น ๆ ที่แสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่โดยใช้เป็น “คำสอน” ให้แก่ผู้เรียนใน
วิชานั้น ๆ มาแล้ว
ลักษณะคุณภาพ ระดับดีขึ้นไป