ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชา
พ.ศ. ๒๕๕๘
………………………………………………..
โดยที่ปริญญาในความหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มิใช่เป็นการแสดงซึ่งการสําเร็จ การศึกษาในหลักสูตรใดเท่านั้น แต่เป็นการแสดงถึงผู้มีความรู้และคุณธรรมของผู้ได้รับอนุมัติปริญญา
ในการกําหนดให้ “เป็นดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิต และบัณฑิต” ในแต่ละสาขาวิชา ประกอบกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๘๑ ได้บัญญัติให้มหาวิทยาลัย
มีอํานาจให้ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรในสาขาวิชาที่มีการสอนในมหาวิทยาลัย
และให้หรือร่วมให้ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรในสาขาวิชาที่มีการจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาชั้นสูง หรือสถาบันอื่นในประเทศหรือต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ และการกําหนดให้สาขาวิชาใด
มีปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรชั้นใด และจะใช้อักษรย่อสําหรับสาขาวิชานั้นอย่างไร
ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เห็นชอบให้ออกข้อบังคับไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชา พ.ศ. ๒๕๕๘”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กําหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ในชั้นดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต หรือบัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังต่อไปนี้
(๑) สาขาวิชาการตลาด มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “การตลาดดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “กต.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “การตลาดมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “กต.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “การตลาดบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “กต.บ.”
(๒) สาขาวิชาการผังเมือง มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “การผังเมืองดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ผ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “การผังเมืองมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ผ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “การผังเมืองบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ผ.บ.”
(๓) สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “การแพทย์แผนไทยประยุกต์ดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ
“พทป.ด.” และ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “การแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ
“พหป.ม”
(ค) ตรี เรียกว่า “การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พทป.บ.”
(๔) สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “การออกแบบชุมชนเมืองดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ
“อบ.ม.ด.” และ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “การออกแบบชุมชนเมืองมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “อบ.ม.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “การออกแบบชุมชนเมืองบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “อบ.ม.บ.”
(๕) สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ มีปริญญาสองชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “ทันตแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ท.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อว่า “ปร.ด.”
(ข) ตรี เรียกว่า “ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ท.บ.
(๖) สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “เทคนิคการแพทยดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ทพ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ทพ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “เทคนิคการแพทยบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ทพ.บ. และ
“วิทยาศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.บ.”
(๗) สาขาวิชานิติศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “น.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “นิติศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “น.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “นิติศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “น.บ.”
(๘) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บธ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บธ.ม.” และ
“วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “บริหารธุรกิจบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บธ.บ.”
(๙) สาขาวิชาบัญชี มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “บัญชีดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บช.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “บัญชีมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บช.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “บัญชีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “บซ.บ.”
(๑๐) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พย.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พย.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “พยาบาลศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พย.บ.”
(๑๑) สาขาวิชาพัฒนาชุมชน มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “พัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พช.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พช.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “พัฒนาชุมชนบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พช.บ.”
(๑๒) สาขาวิชาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “พัฒนาแรงงานและสวัสดิการดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ
“รส.ด.” และ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “รส.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “พัฒนาแรงงานและสวัสดิการบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “รส.บ.”
(๑๓) สาขาวิชาแพทยศาสตร์ มีปริญญาสองชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “พ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) ตรี เรียกว่า “แพทยศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ พ.บ.”
(๑๔) สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ
“ภ.สถ.ด.” และ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ภ.สถ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ภ.สถ.บ.”
(๑๕) สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ภ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ภ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “เภสัชศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ภ.บ.”
(๑๖) สาขาวิชารัฐศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ร.ต.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “รัฐศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ร.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “รัฐศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ร.บ.”
(๑๗) สาขาวิชาวารสารศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “วารสารศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ว.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “วารสารศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ว.บ.”
(๑๘) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “วิทยาศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.บ.”
(๑๙) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วศ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วศ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วศ.บ.”
(๒๐) สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศป.ด” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศป.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศป.บ.”
(๒๑) สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “ศิลปศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.บ.”
(๒๒) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศษ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ ศษ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “ศึกษาศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศษ.บ.”
(๒๓) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “เศรษฐศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศ.บ.”
(๒๔) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “สถาปัตยกรรมภายในดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สน.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “สถาปัตยกรรมภายในมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สน.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “สถาปัตยกรรมภายในบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สน.บ.”
(๒๕) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สถ.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สถ.ม.
(ค) ตรี เรียกว่า “สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สถ.บ.” และ
“วิทยาศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.บ.”
(๒๖) สาขาวิชาสหวิทยาการ มีปริญญาสองชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.ม.”
(๒๗) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ
“สม.ด.” และ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สม.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สม.บ.”
(๒๘) สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สส.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สส.ม.” และ
“ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ” ใช้อักษรย่อ “ศศ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “สส.บ.” และ
“ศิลปศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ศศ.บ.”
(๒๙) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ส.ด.” และ
“ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ส.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ส.บ.” และ
“วิทยาศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “วท.บ.”
หากปริญญาตามวรรคหนึ่งมีสาขาวิชาให้ใส่วงเล็บที่มีเป็นชื่อสาขาวิชาต่อท้ายชื่อปริญญา
และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชาด้วย
ข้อ ๔ ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
(ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร)
นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์