ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยสภาพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๙
__________________________
โดยที่สมควรกําหนดจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการเลือก วาระการดํารงตําแหน่ง
และการพ้นจากตําแหน่งของประธานและกรรมการ ตลอดจนการประชุมและวิธีดําเนินงาน
ของสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และโดยมติสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการประชุม
ครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ เห็นชอบให้ออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ชื่อข้อบังคับ
ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๙”
ข้อ ๒ เวลาที่มีผลใช้บังคับ
ข้อบังคับฉบับนี้ให้ใช้บังคับถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ นิยาม
ในข้อบังคับนี้
“พนักงานมหาวิทยาลัย” หมายความว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ
“ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่มิใช่ข้าราชการที่เป็น คณาจารย์ประจํา พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ หรือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานสอนเช่นเดียวกับคณาจารย์ประจำ
“คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง” หมายความว่า คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
สภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ข้อ ๔ ผู้รักษาการ
ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอํานาจออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์
และวิธีการเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑
อํานาจหน้าที่
………………………………
ข้อ ๕ อํานาจหน้าที่ของสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้สภาพนักงานมหาวิทยาลัยมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีในการบริหารกิจการ
ทั้งปวงของมหาวิทยาลัย
(๒) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
และระหว่างผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยด้วยกัน
(๓) ส่งเสริมและพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
(๔) ดําเนินการเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
และเป็นธรรมจากมหาวิทยาลัย ส่วนงาน หรือผู้บังคับบัญชา
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย
หมวด ๒
องค์ประกอบ
………………………………..
ข้อ ๖ องค์ประกอบ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยประธานและกรรมการซึ่งเลือก
จากพนักงานมหาวิทยาลัย ดังนี้
(๑) ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
(๒) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยประเภททั่วไป จํานวน ๔ คน
(๓) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย จํานวน ๒ คน ซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่ดํารง ตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานที่มีหน้าที่หลักด้านการให้บริการและสนับสนุนการบริหารมหาวิทยาลัย
เลขานุการส่วนงาน ผู้อํานวยการกอง หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าผู้อํานวยการสํานักงาน เลขานุการส่วนงาน หรือผู้อํานวยการกอง
(๔) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย จํานวน ๒ คน ซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่ดํารง ตําแหน่งหัวหน้างาน หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าหัวหน้างาน
(๕) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่อยู่ในสังกัดสํานักงาน
สภามหาวิทยาลัย สํานักงาน หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสํานักงาน จํานวน ๖ คน ประกอบด้วย
(ก) สํานักงานสภามหาวิทยาลัย สํานักงานตรวจสอบภายใน หรือสํานักงานที่มีหน้าที่หลัก ด้านการให้บริการและสนับสนุนการบริหารมหาวิทยาลัย จํานวน ๒ คน
(ข) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จํานวน ๑ คน
(ค) สํานักงานและส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสํานักงานที่มีหน้าที่หลัก
ด้านการให้บริการและสนับสนุนการศึกษานอกจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จํานวน ๒ คน
(ง) สํานักงานที่มีหน้าที่สนับสนุนมหาวิทยาลัยเพื่อความเป็นเลิศ และสํานักงานหรือส่วนงาน ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสํานักงานซึ่งมีหน้าที่ให้บริการจัดหารายได้ซึ่งมีการบริหารงาน
แบบวิสาหกิจ จํานวน ๑ คน
(๖) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในสังกัดหน่วยงาน
ที่มีภารกิจหลักด้านการจัดการศึกษา จํานวน ๙ คน ประกอบด้วย
(ก) กลุ่มสังคมศาสตร์ จํานวน ๔ คน
(ข) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จํานวน ๒ คน
(ค) กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ จํานวน ๓ คน
(๗) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย จํานวน ๒ คน ซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในสังกัด สถาบัน ๒ คน
(๘) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่ปฏิบัติงานประจํา
ที่ศูนย์ลําปาง จํานวน ๑ คน
ข้อ ๗ ข้อห้ามมิให้กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยสังกัดส่วนงานซ้ำกันและข้อยกเว้น
กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ตาม ข้อ ๖ (๕) (๖) หรือ (๗) จะอยู่ในสังกัดส่วนงาน
ซ้ำกันมิได้ เว้นแต่ไม่มีผู้ที่อยู่ในสังกัดส่วนงานอื่นในประเภทเดียวกันสมัครเข้ารับการเลือกตั้ง
หรือมีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง แต่เมื่อนับจํานวนผู้สมัครในประเภทนั้นทั้งหมดแล้วยังมีไม่เกินจํานวน
กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะมีได้ในประเภทเดียวกัน
หมวด ๓
คุณสมบัติของประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
…………………………………………
ข้อ ๘ คุณสมบัติประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องมีคุณสมบัติสําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
ข้อ ๙ คุณสมบัติกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
ข้อ ๑๐ ลักษณะต้องห้ามของประธานและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องไม่มีลักษณะ ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) ดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองหรือผู้ช่วยคณบดี ผู้อํานวยการสถาบัน รองหรือผู้ช่วยผู้อํานวยการสถาบัน หรือหัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนงาน
ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณบดี รองหรือผู้ช่วยคณบดี ผู้อํานวยการสถาบัน หรือรอง
หรือผู้ช่วยผู้อํานวยการสถาบัน
(๒) เป็นผู้ต้องถูกดําเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือจรรยาบรรณอย่างร้างแรง โดยมีคําสั่ง
แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง หรือคณะกรรมการสอบสวนทางจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง
ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยวินัยของพนักงานมหาวิทยาลัย หรือข้อบังคับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของพนักงานมหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี และยังอยู่ระหว่าง
ขั้นตอนการพิจารณาของมหาวิทยาลัย
หมวด ๔
วาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่ง
……………………………….
ข้อ ๑๑ วาระการดํารงตําแหน่ง
ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยมีวาระ
การดํารงตําแหน่งคราวละสองปี
ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยหรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยที่มาจากการเลือกตั้ง แทนตําแหน่งที่ว่างลงให้มีวาระการดํารงตําแหน่งเท่ากับวาระการดํารงตําแหน่งของผู้ซึ่งตนแทน
ข้อ ๑๒ การพ้นจากตําแหน่ง
นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระของสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นสภาพการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
(๔) มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อ ๑๐
(๕) พ้นจากการดํารงตําแหน่งของการเป็นกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อ ๖ (๓)
หรือ (๔)
(๖) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ตามข้อ ๖ (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) โอนย้ายไปอยู่ในสังกัด ส่วนงานอื่นที่มิได้เป็นส่วนงานในประเภทเดียวกันกับที่เป็นกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย เว้นแต่กรณี
การโอนย้ายให้ไปปฏิบัติงานในส่วนงานอื่นเป็นระยะเวลาไม่เกิน ๖ เดือน
(๗) กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ตามข้อ ๖ (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) โอนย้ายไปสังกัดอยู่ใน ส่วนงานอื่นที่อยู่ในประเภทเดียวกันกับที่เป็นกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย แต่ส่วนงานที่ไปสังกัดใหม่นั้น
มีผู้ที่เป็นกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อ ๖ (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) อยู่แล้ว เว้นแต่กรณีการโอนย้าย
ให้ไปสังกัดในส่วนงานนั้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน ๖ เดือน
(๘) สภาพนักงานมหาวิทยาลัยมีมติให้พ้นจากตําแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม
ของจํานวนกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ ในกรณีต่อไปนี้
(ก) มีความประพฤติในทางที่จะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตําแหน่งกรรมการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัย หรือแก่กิจการของสภาพนักงานมหาวิทยาลัย หรือแก่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
(ข) ขาดประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่แจ้งเหตุผลอันสมควรเป็นลายลักษณ์อักษร
ให้ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยทราบก่อนการประชุม หรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันประชุมในกรณีที่มีเหตุ
ทําให้ไม่สามารถแจ้งให้ทราบก่อนการประชุมได้
หมวด ๕
การเลือกตั้ง
……………………………..
ข้อ ๑๓ หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อบังคับนี้ และตามประกาศของคณะกรรมการดําเนินการ เลือกตั้ง
ข้อ ๑๔ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยทุกคนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือเสนอชื่อประธาน
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยทุกประเภท
ข้อ ๑๕ การแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
ก่อนประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยพ้นวาระ
การดํารงตําแหน่งไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง ประกอบด้วย
(๑) รองอธิการบดีที่อธิการบดีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้างานส่วนงานที่รับผิดชอบงานด้านการเจ้าหน้าที่ เป็นกรรมการ
(๓) ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้างานส่วนที่รับผิดชอบงานด้านกฎหมาย เป็นกรรมการ
(๔) ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้างานส่วนงานที่รับผิดชอบงานด้านอาคารสถานที่
ของมหาวิทยาลัยทุกที่ตั้งและศูนย์ เป็นกรรมการ
(๕) หัวหน้างานหรือตําแหน่งอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ
ของสภาพนักงานมหาวิทยาลัยคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ
จากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยอีกไม่เกินสองคนก็ได้
ข้อ ๑๖ อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สุจริตและเที่ยงธรรม และให้มีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) พิจารณากําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และกําหนดการที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการเลือกตั้ง
โดยออกเป็นประกาศคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
(๒) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประจําหน่วยเลือกตั้ง หรือคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อทําหน้าที่
ช่วยเหลือคณะกรรมการในการจัดการเลือกตั้งก็ได้
(๔) ดําเนินการรับสมัครรับเลือกตั้ง ตรวจสอบคุณสมบัติ และออกประกาศรายชื่อผู้สมัคร
รับเลือกตั้งพร้อมหมายเลขประจําตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(๕) ควบคุม และดําเนินการเลือกตั้ง
(๖) ตรวจนับคะแนนการเลือกตั้ง
(๗) รายงานผลการเลือกตั้งต่ออธิการบดีเพื่อออกเป็นประกาศให้ผู้ได้รับการเลือกตั้ง
เป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
(๘) จัดการเลือกตั้งเพิ่มเติม
ข้อ ๑๗ คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งและคณะอนุกรรมการสมัครเข้ารับการเลือกตั้ง
ในกรณีที่กรรมการ เลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
หรือ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการ ดําเนินการเลือกตั้งแต่งตั้งสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ให้ผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งในคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งแต่งตั้งแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่กรรมการ เลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
พ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้อธิการบดีแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการกองหรือเทียบเท่าเป็นกรรมการ
หรือแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการแทน
ข้อ ๑๘ กําหนดเวลาแล้วเสร็จของการจัดการเลือกตั้ง
ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง จัดการเลือกตั้งประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยให้แล้วเสร็จก่อนวาระการดํารงตําแหน่งของประธานสภาพนักงาน
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเดิมจะสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
ข้อ ๑๙ การดําเนินการกรณีไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
เมื่อพ้นเวลาที่คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งกําหนดให้สมัครเข้ารับเลือกตั้งแล้ว ไม่ปรากฏว่า
มีผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยหรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ตามข้อ ๖ (๓) หรือ (๔) ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งจัดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสนอชื่อ
พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทนั้นแล้วแต่กรณีก็ได้
ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งจัดทําบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติและไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม
ของการเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยหรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะให้มีการเสนอชื่อ
แจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนกําหนดการลงคะแนนเสียงเสนอชื่อ โดยออกเป็นประกาศ คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
การเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งให้ทําพร้อมกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ ๒๐ การทาบทามผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ในกรณีที่มีการจัดให้มีการเสนอชื่อประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อ ๑๙
ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งดําเนินการทาบทามผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อที่ได้คะแนนสูงสุดให้รับตําแหน่ง ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย หากผู้นั้นยินยอมให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกเป็นประธาน
สภาพนักงานมหาวิทยาลัย แต่หากผู้นั้นไม่ยินยอมที่จะเข้ารับตําแหน่ง ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง ดําเนินการทาบทามผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อในลําดับคะแนนรองลงไป
ผู้ที่จะได้รับการทาบทามตามวรรคหนึ่งจะต้องได้คะแนนจากการเสนอชื่อไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของจํานวนผู้มาใช้สิทธิเสนอชื่อ
ข้อ ๒๑ การดําเนินการกรณีไม่มีผู้สมัครเป็นกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ในกรณีที่มีการจัดให้มีการเสนอชื่อกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อ ๑๙
ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งดําเนินการทาบทามผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทนั้นเรียงตามลําดับคะแนนการได้รับการเสนอชื่อจากจากคะแนนสูงสุดลงไปตามจํานวนกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะมีได้ในประเภทนั้น หากผู้ที่ได้รับการทาบทามยินยอม
รับเป็นกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับการเลือกเป็นกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทนั้น
ผู้ที่จะได้รับการทาบทามตามวรรคหนึ่งจะต้องได้คะแนนจากการเสนอชื่อไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของจํานวนผู้มาใช้สิทธิเสนอชื่อ
ข้อ ๒๒ การจัดการเลือกตั้งหรือการจัดการเสนอชื่อเพิ่มเติม
ในกรณีที่เมื่อจัดการเลือกตั้งและจัดให้มีการเสนอชื่อแล้ว ยังไม่มีผู้ได้รับการเลือกตั้ง
เป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทหนึ่งประเภทใด
ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งหรือจัดให้มีการเสนอชื่อประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งที่กําหนดไว้ในหมวดนี้มาใช้กับการเลือกตั้งเพิ่มเติม
ตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๒๓ สิทธิสมัครรับการเลือกตั้ง
พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยในการเลือกตั้งคราวหนึ่งได้เพียงประเภทเดียว
ข้อ ๒๔ วิธีการจับสลากตัดสินกรณีมีผู้ได้คะแนนเท่ากัน
ในกรณีที่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งเท่ากันและเป็นผู้อยู่ในข่ายที่จะได้เป็นกรรมการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัย ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งจัดให้ผู้ที่ได้คะแนนเสียงเท่ากันนั้นจับสลากตัดสิ
ข้อ ๒๕ การเลือกตั้งแทนตําแหน่งประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภา
พนักงานมหาวิทยาลัยที่ว่างลง
เมื่อประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยพ้นจากตําแหน่ง
ด้วยเหตุอื่นนอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ให้จัดให้มีการเลือกตั้งประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยแทนตําแหน่งที่ว่างลงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้น
พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่วาระของผู้ที่พ้นจากตําแหน่งเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยยี่สิบวันจะไม่จัดการเลือกตั้ง
แทนตําแหน่งที่ว่างก็ได้ และให้สภาพนักงานมหาวิทยาลัยประกอบด้วยประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเท่าที่มี
ในกรณีที่ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยพ้นจากตําแหน่งและไม่มีการเลือกตั้งแทน
ตามวรรคหนึ่ง ให้สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเลือกกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยคนหนึ่งเป็นประธาน
สภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งที่กําหนดไว้ในหมวดนี้มาใช้กับการเลือกตั้งแทน
ตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๒๖ การสมัครรับการเลือกตั้งแทนตําแหน่งที่ว่าง
พนักงานมหาวิทยาลัยที่เป็นประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยหรือกรรมการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่ ไม่มีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างตามข้อ ๒๕
ข้อ ๒๗ อํานาจของอธิการบดีในการวินิจฉัยปัญหาจากการเลือกตั้ง
ในกรณีมีปัญหากับการจัดการเลือกตั้งตามข้อบังคับนี้ ให้อธิการบดีโดยข้อเสนอ
ของคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งเป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัยสั่งการให้ปฏิบัติตามจารีตประเพณีของการเลือกตั้ง
ทั่วไปในระบอบประชาธิปไตย
หมวด ๖
การประชุมและการดําเนินงาน
………………………..
ข้อ ๒๘ การประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัยครั้งแรก
ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่มีประกาศให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธาน
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยครบทุกประเภทและมีจํานวนไม่น้อยกว่า
สามในสี่ของจํานวนกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมดแล้ว ให้ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
เรียกประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัยครั้งแรก
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สภาพนักงานมหาวิทยาลัยประกอบด้วยกรรมการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเท่าที่มีอยู่
ข้อ ๒๙ การเลือกรองประธาน เลขานุการ และรองเลขานุการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ในการประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัยครั้งแรก ให้สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเลือกกรรมการ สภาพนักงานมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รองประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย คนที่ ๑
(๒) รองประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย คนที่ ๒
(๓) เลขานุการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
(๔) รองเลขานุการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ข้อ ๓๐ การปฏิบัติหน้าที่ของประธานและรองประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นผู้แทนของสภาพนักงานมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ควบคุม
และดูแลการดําเนินงานของสภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ นโยบาย และแผนงาน
ที่สภาพนักงานมหาวิทยาลัยกําหนด และปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับมหาวิทยาลัย
ในกรณีที่ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ให้รองประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย คนที่ ๑ ปฏิบัติหน้าที่แทน
หากประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้และรองประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย คนที่ ๑
ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย คนที่ ๒ ปฏิบัติหน้าที่แทน
ในกรณีที่ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ตามวรรคสอง ให้กรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอายุงานในมหาวิทยาลัยมากที่สุดปฏิบัติหน้าที่แทน ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ข้อ ๓๑ หน้าที่ของรองประธาน เลขานุการ และรองเลขานุการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
อํานาจหน้าที่อื่นของรองประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย เลขานุการ
สภาพนักงานมหาวิทยาลัย และรองเลขานุการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามที่ประธาน
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยมอบหมายและแจ้งให้สภาพนักงานมหาวิทยาลัยทราบ
ข้อ ๓๒ การประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
นอกจากการประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัยครั้งแรก ให้ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
จัดให้มีการประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่
ของสภาพนักงานมหาวิทยาลัย เป็นประจําไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง เว้นแต่มีเหตุการณ์ที่มีสภาพร้ายแรง
จนไม่สามารถประชุมได้
ข้อ ๓๓ การปฏิบัติหน้าที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยของประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ในกรณีที่สภามหาวิทยาลัยบรรจุเรื่องที่มีผลกระทบต่อสถานะหรือสิทธิประโยชน์
ของพนักงานมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ให้ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเรียกประชุม
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อนการประชุมสภามหาวิทยาลัย
และให้ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยนําผลการประชุมของสภาพนักงานมหาวิทยาลัยไปแจ้ง
แก่ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อประกอบการพิจารณาในระเบียบวาระนั้น
การปฏิบัติตามวรรคหนึ่งไม่ตัดสิทธิประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยในฐานะ
เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยในการแสดงความคิดเห็นหรือลงมติ
ข้อ ๓๔ หลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินงานและการประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
การดําเนินงานและการประชุมสภาพนักงานมหาวิทยาลัยนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในหมวดนี้
ให้เป็นไปตามระเบียบที่สภาพนักงานมหาวิทยาลัยกําหนด
ข้อ ๓๕ การให้ผู้ที่มิได้เป็นกรรมการมาเข้าร่วมการประชุม หรือมอบหมายให้ดําเนินการอย่าง หนึ่งอย่างใด
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยอาจเชิญหรือแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย คณาจารย์ประจํา
หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ให้มาเข้าร่วมการประชุมหรือร่วมเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการหรือมอบหมายให้ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภาพนักงานมหาวิทยาลัยก็ได้
ข้อ ๓๖ การประชุมหรือการทํากิจกรรมร่วมกับสภาอาจารย์
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยอาจร่วมกับสภาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย จัดให้มีการประชุมร่วม
หรือเข้าร่วมการประชุมเพื่อปรึกษาหารือหรือมีมติร่วมกัน หรือร่วมกันทําข้อเสนอแนะหรือให้คําปรึกษายื่นต่อ
สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่
ของสภาพนักงานมหาวิทยาลัยหรือสภาอาจารย์ก็ได้
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยอาจร่วมกับสภาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยทํากิจกรรมที่เป็น
การส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยและคณาจารย์ประจําก็ได้
หมวด ๗
สิทธิประโยชน์ของประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
……………………………………….
ข้อ ๓๗ การนับภาระงานในการปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
การปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ถือเป็นภาระงานของพนักงานมหาวิทยาลัยที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องนําไปประกอบการพิจารณาประเมินผล
การปฏิบัติงานเพื่อการดังต่อไปนี้
(๑) การพิจารณาต่อสัญญาปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย
(๒) การเลื่อนหรือขึ้นเงินเดือนประจําปี
(๓) การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้น
(๔) การพิจารณาให้ความดีความชอบหรือผลประโยชน์อื่นที่ผู้บังคับบัญชาพิจารณาให้แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยอาศัยการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ข้อ ๓๘ การคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของประธานและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
การปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของประธาน
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยย่อมได้รับการคุ้มครอง ผู้บังคับบัญชาจะลงโทษ ทางวินัย จรรยาบรรณ หรือกระทําการใด ๆ ในทางที่จะส่งผลกระทบเสียหายต่อสถานะหรือตําแหน่งหน้าที่
ของผู้นั้นโดยอาศัยเหตุจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นมิได้
ข้อ ๓๙ การอํานวยความสะดวกแก่การปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ในกรณีที่ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ได้แจ้งแก่ผู้บังคับบัญชาว่ามีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติงานในฐานะประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณามอบหมายงาน
โดยคํานึงถึงการอํานวยความสะดวกให้ตามสมควรและโดยไม่กระทําการใดในทางที่จะก่อให้เกิดปัญหา
หรืออุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย หรือกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
บทเฉพาะกาล
…………………………………..
ข้อ ๔๐ การจัดการเลือกตั้งประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงาน มหาวิทยาลัยครั้งแรก
เมื่อข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้อธิการบดีจัดให้มีการเลือกตั้งประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย
และกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อบังคับนี้ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๔๕ วัน
ข้อ ๔๑ ให้สภาข้าราชการปฏิบัติหน้าที่สภาพนักงานมหาวิทยาลัย
ในกรณีที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ทันภายใน ๔๕ วัน ให้สภาข้าราชการตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยสภาข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๘ ทําหน้าที่สภาพนักงานมหาวิทยาลัยจนกว่าจะได้
มีสภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อบังคับนี้ และให้ประธานสภาข้าราชการ และกรรมการสภาข้าราชการ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยและกรรมการสภาพนักงานมหาวิทยาลัยจนกว่าจะมี
สภาพนักงานมหาวิทยาลัยตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
(ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร)
นายกสภามหาวิทยาลัย