ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง หลักเกณฑ์การเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ
ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2562
—————————–
โดยที่คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 22/2562 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 เห็นชอบหลักเกณฑ์การเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 อธิการบดีจึงออกประกาศไว้ดังนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์การเทียบผล
การเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2562”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในการเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ
ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ใช้แนวทาง ดังนี้
3.1 ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษา High School Diploma
ระดับผลการเรียนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ 5 ระดับ (A, B, C, D, F) จนถึง 13 ระดับ ซึ่งต้องนำเกรดที่นักเรียนได้มาคำนวณโดยเทียบกับของประเทศไทยที่แบ่งเป็น 8 ระดับ ดังนี้
เกรด GPA เปอร์เซ็นต์
A, A+ 4 80 – 100
A- 3.5 75 – 79
B, B+ 3 70 – 74
B- 2.5 65 – 69
C, C+ 2 60 – 64
C- 1.5 55 – 59
D-, D, D+ 1 50 – 54
F 0 0 – 49
ระดับ High School (GED Test) แต่ละวิชาจะต้องได้ GED Standard Score ไม่ต่ำกว่า 165 จาก Total Standard Score 200 เทียบผลการเรียนเป็น 7 ระดับ ดังนี้
GED Standard Score
GED GPA
185 – 200 4
180 – 184 3.5
175 – 179 3
170 – 174 2.5
165 – 169 2
155 – 164 1.5
145 – 154 1
โดยมีหลักการคำนวณหาค่า GPA เฉลี่ยดังนี้
1) ให้คำนวณหา GPA จากผลการเรียนที่ศึกษาอยู่ในประเทศนั้น ๆ เฉพาะเกรด 12
2) หากในใบหลักฐานการศึกษาระบุผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) เฉพาะเกรด 12 ให้นำมา
ใช้ได้เลย
3) หากในใบหลักฐานการศึกษาไม่ระบุผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) แต่ระบุผลการเรียนเป็นเปอร์เซ็นต์ ให้คำนวณหา GPA จากรายวิชาต่าง ๆ ที่ศึกษาในเกรด 12
4) การคำนวณ GPA จากหลักฐานการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแบบ GED Test ให้คำนวณจากค่า Standard Score ทุกรายวิชาที่ปรากฏในหลักฐานการศึกษา
3.2 ระบบการศึกษาของอังกฤษ
ใช้สำหรับการศึกษาในประเทศอังกฤษ และประเทศอื่นที่จัดการศึกษาตามระบบการศึกษาของอังกฤษ
การสอบ GCE “O” Level, IGCSE, GCSE
ผลการสอบแบ่งเป็น 5 ระดับ (A, B, C, D, E) แล้วนำผลการสอบทุกรายวิชาที่สอบผ่าน
(A – C) มาคำนวณหาค่า GPA ได้ดังนี้
เกรด GPA
A 4
B 3
C 2
การสอบ A – Level
ผลการสอบแบ่งเป็น 5 ระดับ (A, B, C, D, E) แล้วนำผลการสอบรายวิชาที่สอบผ่าน (A – E) มาคำนวณหาค่า GPA ได้ดังนี้
เกรด GPA
A 4
B 3
C 2
D 1
E 1
3.3 ประเทศออสเตรเลีย
ผู้เรียนได้ประกาศนียบัตรของรัฐ ซึ่งแสดงการจบหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจะตัดสินผลการเรียนเป็น 3 รูปแบบเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
3.3.1 ผลการเรียนเป็นเกรด ซึ่งสามารถเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
เกรด GPA
A, A+ 4
A- 3.5
B, B+ 3
B- 2.5
C, C+ 2
C- 1.5
D-, D, D+ 1
F 0
3.3.2 ผลการเรียนเป็นระดับคุณภาพ ซึ่งสามารถเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
A = 4 หมายถึง Exceptional Achievement A = 4 หมายถึง Very High Achievement
B = 3 หมายถึง High Achievement B = 3 หมายถึง High Achievement
C = 2 หมายถึง Commendable Achievement C = 2 หมายถึง Sound Achievement
D = 1 หมายถึง Satisfactory Achievement D = 1 หมายถึง Limited Achievement
E = 0 หมายถึง Preliminary Achievement E = 0 หมายถึง Very Limited Achievement
3.3.3 ผลการเรียนเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
เปอร์เซ็นต์ GPA
80 – 100 4
75 – 79 3.5
70 – 74 3
65 – 69 2.5
60 – 64 2
55 – 59 1.5
50 – 54 1
0 – 49 0
หลักการคำนวณหาค่า GPA เฉลี่ย ให้ใช้เช่นเดียวกับของประเทศสหรัฐอเมริกา
3.4 ประเทศนิวซีแลนด์
ผู้เรียนจะต้องสอบได้วิชา NCEA (National Certificate of Educational Achievement) ของ NZQA (New Zealand Qualifications Authority) โดยผลการสอบจะเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
E (Achieved with Excellence) = 4
M (Achieved with Merit) = 3
A (Achieved) = 2
ในการคิดค่า GPA ให้คิดวิชาที่สอบผ่านตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป
3.5 ประเทศสกอตแลนด์
ผลการสอบแบ่งเป็น 7 ระดับ (1 = คะแนนสูงสุด, 7 = คะแนนต่ำสุด) ซึ่งจะต้องนำเกรดที่นักเรียนได้มาคำนวณโดยเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
ระดับที่ 1 = 4
ระดับที่ 2 = 3.5
ระดับที่ 3 = 3
ระดับที่ 4 = 2.5
ระดับที่ 5 = 2
ระดับที่ 6 = 1.5
ระดับที่ 7 = 1
3.6 ประเทศอินเดีย
ผู้เรียนได้ประกาศนียบัตรของหน่วยงานของรัฐ (Board) ที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสอบ ซึ่งจะตัดสินผลการเรียนเป็น 2 รูปแบบดังนี้
3.6.1 ผลการเรียนเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
เปอร์เซ็นต์ GPA
80 – 100 4
75 – 79 3.5
70 – 74 3
65 – 69 2.5
60 – 64 2
50 – 59 1.5
40 – 49 1
0 – 39 0
3.6.2 ผลการเรียนเป็น 5 ระดับ ซึ่งสามารถเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
เกรด GPA
1 – 2 4
3 – 4 3
5 – 6 2
7 – 8 1
9 0
หมายเหตุ ในกรณีที่โรงเรียนจัดการศึกษาตามระบบประเทศอังกฤษ ให้นำการคิดผลการเรียนแบบระบบการศึกษาของอังกฤษมาใช้
3.7 ประเทศชิลี
ผลการสอบแบ่งเป็น 7 ระดับ (7 = คะแนนสูงสุด, 1 = คะแนนต่ำสุด) ซึ่งจะต้องนำเกรดที่นักเรียนได้มาคำนวณโดยเทียบได้ดังนี้
ระดับที่ 7 = 4
ระดับที่ 6 = 3
ระดับที่ 5 = 2 ผ่าน
ระดับที่ 4 = 1
ระดับที่ 3 = 0
ระดับที่ 2 = 0 ไม่ผ่าน
ระดับที่ 1 = 0
3.8 ประเทศเยอรมัน ผลการเรียนเป็นระดับคุณภาพ สามารถเทียบค่า GPA ได้ดังนี้
Very good = 4
Good = 3
Very Satisfactory = 2
Just Adequate / Pass = 1
Fail = 0
หมายเหตุ กรณีประเทศอื่น ๆ ถ้าคิดผลการเรียนเป็นเกรด เปอร์เซ็นต์ และระดับคุณภาพ
ให้เทียบผลการเรียนแบบของประเทศที่มีการพิจารณาอยู่แล้ว
ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ)
อธิการบดี