ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓
………………………………………………..
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการบริหาร งานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และโดยมติสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่
๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เห็นชอบให้ออกข้อบังคับไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พนักงานมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ ประเภทย่อยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๕ ประเภทย่อยของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มีดังนี้
(ก) คณาจารย์ประจํา มีตําแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(๑) ศาสตราจารย์
(๒) รองศาสตราจารย์
(๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(๔) อาจารย์
(ข) นักวิจัย มีตําแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(๑) นักวิจัย ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
(๒) นักวิจัย ระดับเชี่ยวชาญ
(๓) นักวิจัย ระดับชํานาญการ
(๔) นักวิจัย ระดับปฏิบัติการ
(ค) อาจารย์ช่วยสอน มีชื่อตําแหน่ง ดังต่อไปนี้
(๑) อาจารย์ช่วยสอน
(ง) ครูกระบวนการ ซึ่งเป็นตําแหน่งเฉพาะในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีตําแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(๑) ครูกระบวนการ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
(๒) ครูกระบวนการ ระดับเชี่ยวชาญ
(๓) ครูกระบวนการ ระดับชํานาญการ
(๔) ครูกระบวนการ ระดับปฏิบัติการ
มาตรฐานกําหนดตําแหน่งและการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ประจํา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยตําแหน่งทางวิชาการ
มาตรฐานกําหนดตําแหน่งและการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัย ตาม (ข) (ค) และ (ง) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิการบดีโดยข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารบุคคล
กําหนดโดยออกเป็นประกาศมหาวิทยาลัย”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๕/๑ การพ้นจากการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ของอาจารย์ช่วยสอนข้อ ๑๕/๒ การกําหนดตําแหน่งที่สูงขึ้นของอาจารย์ช่วยสอน และข้อ ๑๕/๓ การเปลี่ยน สถานภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการมาเป็นสายวิชาการ ของข้อบังคับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๙
“ข้อ ๑๕/๑ การพ้นจากการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของอาจารย์ช่วยสอน
นอกจากการพ้นตามข้อ ๓๒ และข้อ ๕๓ ให้อาจารย์ช่วยสอนพ้นจากการเป็น
พนักงานมหาวิทยาลัยหากผู้นั้นไม่เข้ารับการพัฒนาโดยการไปศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาโท ปริญญาเอก หรือเทียบเท่าภายในระยะเวลาสองปีนับตั้งแต่ผ่านการประเมินทดลองงาน เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผล
ความจําเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยอาจขยายระยะเวลาให้ผู้นั้นออกไปอีกไม่เกินหนึ่งปีก็ได้
ข้อ ๑๕/๒ การกําหนดตําแหน่งที่สูงขึ้นของอาจารย์ช่วยสอน
อาจารย์ช่วยสอนจะมีตําแหน่งที่สูงขึ้นได้ต่อเมื่อได้เปลี่ยนประเภทตําแหน่งเป็นประเภท คณาจารย์ประจํา
ผู้ซึ่งจะได้รับการกําหนดตําแหน่งที่สูงขึ้นโดยเปลี่ยนประเภทตําแหน่งเป็นประเภทคณาจารย์ ประจําตามวรรคหนึ่งจะต้องมีคุณวุฒิในระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การพิจารณา การเปลี่ยนประเภทตําแหน่งให้นําคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การพิจารณาการคัดเลือกบุคคลเพื่อรับการบรรจุ แต่งตั้งและจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ประเภทคณาจารย์ประจํามาใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๕/๓ การเปลี่ยนสถานภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการมาเป็น สายวิชาการที่มีชื่อตําแหน่งตามข้อ ๑๕ (ข) และ (ง)
หลักเกณฑ์และวิธีการ เงื่อนไขการต่อสัญญาจ้าง การสิ้นสุดสัญญาจ้าง การนับอายุงาน การเทียบเคียงตําแหน่งทางวิชาการ เพื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการที่มีชื่อตําแหน่งตามข้อ ๑๕ (ข) และ (ง) ให้เป็นไปตามที่อธิการบดีโดยข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารบุคคลกําหนดโดยออกเป็นประกาศมหาวิทยาลัย
พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทน
ในอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนเปลี่ยนสถานภาพต่อไป จนกว่าอธิการบดีโดยข้อเสนอ
ของคณะกรรมการบริหารบุคคลมีมติให้เปลี่ยนแปลงอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนนั้น”
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓
(ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร)
นายกสภามหาวิทยาลัย