ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โครงการปกติแบบเหมาจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๕
—————————–
โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๓/๒๕๕๕ วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕ อนุมัติให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โครงการปกติแบบเหมาจ่าย นั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ และข้อ ๑๘ แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) และเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ)
พ.ศ. ๒๕๔๙
จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โครงการปกติ
แบบเหมาจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โครงการปกติแบบเหมาจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โครงการปกติทุกคนที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ยกเว้นหลักสูตรปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งใช้ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ต้องชำระต่อภาคการศึกษา มี ๓ กลุ่ม ดังนี้
๓.๑ ระดับปริญญาโท ภาคกลางวัน
(๑) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
(๑.๑) สาขาการบริหารการเงิน ๑๙,๒๐๐ บาท
(๑.๒) สาขาการบริหารการตลาด ๑๙,๒๐๐ บาท
(๑.๓) สาขาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ ๑๙,๒๐๐ บาท
(๒) คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) ๑๖,๕๐๐ บาท
(๓) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
(๓.๑) สาขาพัฒนาชุมชน ๒๒,๔๐๐ บาท
(๓.๒) สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ๒๕,๑๐๐ บาท
(๔) คณะศิลปศาสตร์
(๔.๑) สาขาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร ๑๙,๒๐๐ บาท
(๔.๒) สาขาประวัติศาสตร์ ๑๖,๕๐๐ บาท
(๔.๓) สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ๑๗,๔๐๐ บาท
(๔.๔) สาขาการแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทย ๑๘,๓๐๐ บาท
(๔.๕) สาขาฝรั่งเศสศึกษา ๑๗,๔๐๐ บาท
(๔.๖) สาขาจิตวิทยาการปรึกษา ๑๔,๖๐๐ บาท
(๔.๗) สาขาญี่ปุ่นศึกษา ๑๗,๔๐๐ บาท
(๔.๘) สาขาพุทธศาสนศึกษา ๑๘,๓๐๐ บาท
(๔.๙) สาขาภาษาไทย ๑๙,๒๐๐ บาท
(๔.๑๐) สาขาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ๑๖,๕๐๐ บาท
(๕) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
(๕.๑) สาขาสังคมวิทยา ๑๗,๔๐๐ บาท
(๕.๒) สาขามานุษยวิทยา ๑๖,๕๐๐ บาท
(๖) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๖.๑) สาขาสถิติประยุกต์ ๑๘,๕๐๐ บาท
(๖.๒) สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ๒๑,๒๐๐ บาท
(๖.๓) สาขาคณิตศาสตร์ ๑๘,๕๐๐ บาท
(๖.๔) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ๒๐,๒๐๐ บาท
(๖.๕) สาขาเทคโนโลยีการเกษตร ๑๘,๖๐๐ บาท
(๖.๖) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ๑๙,๖๐๐ บาท
(๖.๗) สาขาเคมี ๑๘,๕๐๐ บาท
(๖.๘) สาขาฟิสิกส์ ๑๙,๑๐๐ บาท
(๖.๙) สาขาการจัดการเกษตรอินทรีย์ ๒๐,๕๐๐ บาท
(๗) คณะวิศวกรรมศาสตร์
(๗.๑) สาขาวิศวกรรมเคมี ๒๖,๘๐๐ บาท
(๗.๒) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ๒๖,๘๐๐ บาท
(๗.๓) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ๒๖,๘๐๐ บาท
(๘) คณะแพทยศาสตร์
(๘.๑) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ๒๒,๖๐๐ บาท
(๘.๒) สาขาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล ๒๒,๖๐๐ บาท
(๘.๓) สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๒๒,๖๐๐ บาท
(๙) คณะสหเวชศาสตร์ สาขาชีวเวชศาสตร์ (นานาชาติ) ๒๓,๘๐๐ บาท
(๑๐) คณะพยาบาลศาสตร์
(๑๐.๑) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ๒๒,๓๐๐ บาท
(๑๐.๒) สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ๒๒,๓๐๐ บาท
(๑๐.๓) สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ ๒๒,๓๐๐ บาท
(๑๑) สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา ๑๖,๕๐๐ บาท
(๑๒) วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาสตรีศึกษา ๑๖,๕๐๐ บาท
๓.๒ ระดับปริญญาโท ภาคค่ำ
(๑) คณะรัฐศาสตร์
(๑.๑) สาขาการปกครอง ๒๐,๖๐๐ บาท
(๑.๒) สาขาการระหว่างประเทศและการฑูต ๒๐,๖๐๐ บาท
(๑.๓) สาขาบริหารรัฐกิจ ๒๐,๖๐๐ บาท
(๒) คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย) ๑๔,๖๐๐ บาท
(๓) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาสื่อสารมวลชน ๑๙,๕๐๐ บาท
(๔) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาการวิจัยทางสังคม ๑๘,๓๐๐ บาท
(๕) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท ๒๑,๘๐๐ บาท
(๖) คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ ๒๖,๔๐๐ บาท
(๗) สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา ๑๙,๔๐๐ บาท
๓.๓ ระดับปริญญาเอก
(๑) คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ ๒๒,๘๐๐ บาท
(๒) คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ ๑๙,๘๐๐ บาท
(๓) คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) ๒๐,๐๐๐ บาท
(๔) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาการบริหารสังคม ๒๙,๑๐๐ บาท
(๕) คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาศาสตร์ ๒๑,๓๐๐ บาท
(๖) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาสื่อสารมวลชน ๒๐,๔๐๐ บาท
(๗) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขามานุษยวิทยา ๑๙,๘๐๐ บาท
(๘) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๘.๑) สาขาสถิติหลักสูตรนานาชาติ ๒๗,๘๐๐ บาท
(๘.๒) สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม ๑๘,๘๐๐ บาท
(๘.๓) สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ภาษาอังกฤษ ๒๗,๓๐๐ บาท
(๘.๔) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ๒๒,๑๐๐ บาท
(๘.๕) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
– ผู้สำเร็จระดับปริญญาบัณฑิต ๒๕,๕๐๐ บาท
– ผู้สำเร็จระดับปริญญามหาบัณฑิต ๒๓,๘๐๐ บาท
(๙) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ๒๖,๘๐๐ บาท
(๑๐) คณะแพทยศาสตร์
(๑๐.๑) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
– ผู้สำเร็จระดับปริญญาบัณฑิต ๒๙,๘๐๐ บาท
– ผู้สำเร็จระดับปริญญามหาบัณฑิต ๒๙,๘๐๐ บาท
– ผู้โอนมาจากชั้นปริญญามหาบัณฑิต ๒๙,๘๐๐ บาท
(๑๐.๒) สาขาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล
– ผู้สำเร็จระดับปริญญาบัณฑิต ๒๕,๓๐๐ บาท
– ผู้สำเร็จระดับปริญญามหาบัณฑิต ๒๓,๘๐๐ บาท
– ผู้โอนมาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวเคมี
และชีววิทยาโมเลกุล ๒๕,๓๐๐ บาท
(๑๑) คณะสหเวชศาสตร์ สาขาชีวเวชศาสตร์
– ผู้สำเร็จระดับปริญญาบัณฑิต ๒๕,๓๐๐ บาท
– ผู้สำเร็จระดับปริญญามหาบัณฑิต ๒๖,๘๐๐ บาท
(๑๒) คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
– ผู้สำเร็จระดับปริญญาบัณฑิต ๒๘,๓๐๐ บาท
– ผู้สำเร็จระดับปริญญามหาบัณฑิต ๒๖,๘๐๐ บาท
(๑๓) วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาสหวิทยาการ ๗๔,๘๐๐ บาท
ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ต้องชำระต่อภาคการศึกษาฤดูร้อน
๔.๑ ระดับปริญญาโท ภาคกลางวัน ๘,๗๐๐ บาท
๔.๒ ระดับปริญญาโท ภาคค่ำ ๑๐,๕๐๐ บาท
๔.๓ ระดับปริญญาเอก ๑๐,๕๐๐ บาท
ทั้งนี้ การจัดเก็บอัตราค่าธรรมเนียมเหมาจ่าย ไม่รวมวิชา มธ.๐๐๕ ภาษาอังกฤษ ๑ มธ.๐๐๖ ภาษาอังกฤษ ๒ และวิชาปรับพื้นความรู้ที่นักศึกษาใหม่ต้องลงทะเบียนเรียน โดยให้จัดเก็บค่าธรรมเนียม
เป็นรายวิชาตามอัตราหน่วยกิตล่าสุด
ข้อ ๕ ค่าบำรุงมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษาที่ไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ที่ต้องชำระเพิ่มเติมจากอัตราเหมาจ่าย (ทั้งภาคการศึกษาปกติและภาคฤดูร้อน) ภาคละ ๑๓,๕๐๐ บาท
ข้อ ๖ ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ต้องชำระต่อภาคการศึกษาปกติ สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนครบตามระยะเวลาของหลักสูตรแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา ๔,๓๐๐ บาท
ข้อ ๗ ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ต้องชำระต่อภาคการศึกษาฤดูร้อน สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนครบตามระยะเวลาของหลักสูตรแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา ๑,๕๐๐ บาท
ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้
๘.๑ ค่าธรรมเนียมการวิจัย สำหรับนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาที่กำหนดให้มีค่าใช้จ่าย
ในการทำวิจัย และจัดเก็บเมื่อนักศึกษาลงทะเบียนทำวิทยานิพนธ์ (ยกเว้นภาคฤดูร้อน)
(๑) ระดับปริญญาโท ภาคละไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
(๒) ระดับปริญญาเอก ภาคละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
๘.๒ ค่ารักษาสถานภาพนักศึกษา ภาคละ ๓,๐๐๐ บาท
๘.๓ ค่ารักษาสถานภาพกรณีถูกลงโทษให้พักการศึกษา ภาคละ ๖,๐๐๐ บาท
(ยกเว้นภาคฤดูร้อน)
๘.๔ ค่าสอบประมวลวิชา ครั้งละ ๕๐๐ บาท
๘.๕ ค่าสอบวัดคุณสมบัติ ครั้งละ ๕๐๐ บาท
๘.๖ ค่าสมัครสอบภาษาต่างประเทศ ครั้งละ ๕๐๐ บาท
๘.๗ ค่าใบรับรองผลการศึกษา ฉบับละ ๕๐ บาท
๘.๘ ค่าปรับกรณีจดทะเบียนล่าช้า วันที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้จดทะเบียนล่าช้าวันแรกคิดเป็นเงิน ๑๐๐ บาท และคิดค่าปรับเพิ่มอีกวันละ ๑๐๐ บาท โดยคิดเพิ่มทุกวันที่ล่าช้า ทั้งนี้
จะไม่คิดค่าปรับในวันที่มิได้จัดให้มีบริการจดทะเบียนและชำระเงิน
ข้อ ๙ นักศึกษาที่ลาพักการศึกษาหรือลาออกจากทะเบียนนักศึกษา หลังจากจดทะเบียนเรียนไปแล้วจะขอคืนค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่ได้ นักศึกษาที่มีหนี้สินกับมหาวิทยาลัยจะต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้น
ก่อนการลงทะเบียนเรียนครั้งต่อไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติผ่อนผันจากคณบดีต้นสังกัด
ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมประเภทอื่น ๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่คณะเรียกเก็บนอกเหนือจากระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นไปตามประกาศของคณะ/หน่วยงาน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
(ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์)
อธิการบดี