ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง อำนาจหน้าที่และการแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานสถาบันอาณาบริเวณศึกษา พ.ศ. ๒๕๖o
……………………………………
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอำนาจหน้าที่และการแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานของสถาบันอาณาบริเวณศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบข้อ ๑๖ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิการบดีโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในคราวการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖o เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖o จึง ออกประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่องอำนาจหน้าที่และการแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานของสถาบันอาณาบริเวณศึกษา พ.ศ. ๒๕๖o”
ข้อ ๒ สถาบันอาณาบริเวณศึกษา ประกอบด้วย ๕ ส่วนงาน ตามข้อ ๑๖ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการจัดตั้งและการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๓ สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ เป็นหน่วยงานสนับสนุนและให้บริการแก่ส่วนงาน ภายในของสถาบันอาณาบริเวณศึกษา เพื่อให้ภารกิจของส่วนงานบรรลุตามวัตถุประสงค์เป้าหมายและตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้
สำนักงานเลขานุการแบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น3 งานดังนี้
(๑) งานบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการด้านสารบรรณและธุรการการเจ้าหน้าที่ ด้านวิเทศสัมพันธ์ ด้านบัญชีการเงินและงบประมาณ ด้านพัสดุ ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผนหน้าสื่อสารองค์กร ด้านการจัดประชุม ด้านการประกันคุณภาพและปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
(๒) งานบริการวิชาการ มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการด้านบริการวิชาการการจัดฝึกอบรม สัมมนา การจัดประชุมวิชาการให้บริการโสดทัศนศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการฝึกอบรมสัมมนา จัดทำและเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารทางวิชาการ การจัดการความรู้ พัฒนาฐานข้อมูลและเว็บไซต์ ให้บริการวิชาการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเอเชียแปซิฟิกศึกษา และปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
(๓) งานส่งเสริมงานวิจัย มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการด้านสนับสนุนและส่งเสริมการทำวิจัย การบริหารงานโครงการวิจัย ทุนการวิจัยการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยทั้งใน และต่างประเทศสนับสนุนและเผยแพร่ผลงานวิจัย และปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๔ ศูนย์เอเชียและออสเตรเลียศึกษา มีอำนาจหน้าที่ด้านการศึกษาค้นคว้าและสนับสนุนการวิจัยสร้างเครือข่ายและขยายความร่วมมือทางวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศการให้บริการวิชาการแก่สังคมจัดฝึกอบรมสัมมนาการจัด ประชุมนานาชาติส่งเสริมการศึกษาเผยแพร่องค์ความรู้เป็นแหล่งข้อมูลและสามารถติดตามสืบค้น ข้อมูลที่สำคัญด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเอเปค และประเทศออสเตรเลีย
ข้อ ๕ ศูนย์อินเดียศึกษา มีอำนาจหน้าที่ศึกษาค้นคว้าวิจัย และให้บริการวิชาการแก่สังคมเกี่ยวกับประเทศอินเดีย ผลิตสิ่งพิมพ์ในรูปแบบวารสารวิชาการ เอกสารผลงานทางวิชาการ วิจัย จุลสาร เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอินเดียศึกษา เป็นแหล่ง ข้อมูลและสามารถติดตามสืบค้นข้อมูลที่สำคัญในด้านต่างๆ ของประเทศอินเดีย และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างอินเดียและไทย
ข้อ ๖ ศูนย์ศึกษารัสเซียและเครือรัฐเอกราช มีอำนาจหน้าที่ ค้นคว้าและสนับสนุนการวิจัย สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจให้บริการวิชาการแก่สังคม จัดฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การเผยแพร่องค์ความรู้ และเป็นแหล่งข้อมูลและสามารถติดตามสืบค้นข้อมูลที่สำคัญด้านต่างๆ เกี่ยวกับประเทศรัสเซียและเครือรัฐเอกราชและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศผ่านความร่วมมือทางวิชาการ
ข้อ ๗ ศูนย์อาเซียนศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ค้นคว้าและสนับสนุนการวิจัย สร้างเครือข่ายและขยายความร่วมมือทางวิชาการ การให้บริการวิชาการแก่สังคม จัดฝึกอบรม การประชุมสัมมนา และเผยแพร่องค์ความรู้รวมทั้งเป็นคลังสมองด้านอาเซียนศึกษา เป็นแหล่งข้อมูลและสามารถติดตามสืบค้นข้อมูลที่สำคัญในด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศอาเซียน และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ และบทบาทของไทยในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ให้หน่วยงานที่จัดตั้งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พ.ศ. ๒๕๓๑ดังต่อไปนี้เป็นส่วนงานตามประกาศนี้
(๑) ศูนย์อินเดียศึกษา
(๒) ศูนย์ศึกษารัสเซียและเครือรัฐเอกราช
(๓) ศูนย์อาเซียน
ให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สินงบประมาณและรายได้ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานตาม (๑) (๒) (๓) มาเป็นสถาบันอาณาบริเวณศึกษา แล้วแต่กรณีตามประกาศนี้
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖o
(ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์