ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๔
………………………………………….
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับ ปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ และข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘ และโดยมติสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๔ เห็นชอบให้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๔”
ข้อ ๒ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แก่นักศึกษาซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๘ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๒๘ การขอเพิ่มรายวิชาภายหลังจากที่ได้ลงทะเบียนเรียนแล้ว ให้กระทําได้ภายในสิบสี่วัน
นับแต่วันเปิดภาคการศึกษาหรือภายในเจ็ดวันนับแต่วันเปิดภาคฤดูร้อน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผล
อันสมควร คณบดีอาจอนุมัติให้เพิ่มรายวิชาเมื่อพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่เกินสิบสี่วัน
ก่อนวันปิดภาคการศึกษา หรือภาคฤดูร้อนแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนครบตามที่กําหนดไว้ในข้อ ๔๓
การขอเพิ่มรายวิชาตามวรรคหนึ่งต้องได้รับอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน
ในรายวิชานั้นก่อนและกรณีการลงทะเบียนเพิ่มรายวิชาเมื่อพ้นกําหนดเวลาต้องชําระค่าปรับการลงทะเบียน เพิ่มรายวิชาล่าช้าเป็นรายวันในอัตราตามประกาศมหาวิทยาลัยว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๑ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๑ การเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิต หมายถึง การเทียบโอนรายวิชาในกรณีที่นักศึกษา
ได้ศึกษารายวิชามาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น โดยนักศึกษาอาจขอเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิต
ที่มีเนื้อหา ของรายวิชาเทียบเท่าและมีเกณฑ์การประเมินผลหรือวัดผลได้มาตรฐานเทียบเท่ากับรายวิชา
ในหลักสูตรที่ศึกษาอยู่ได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้เทียบโอนได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยกิตรวมทั้งหลักสูตร และต้องมีเวลาศึกษา
ในหลักสูตรที่รับเทียบโอนไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษาจึงจะมีสิทธิ์สําเร็จการศึกษา
(๒) รายวิชาที่จะขอเทียบโอนต้องมิใช่รายวิชาในหลักสูตรที่นักศึกษาผู้นั้นถูกถอนชื่อ
จากทะเบียนนักศึกษา
(๓) รายวิชาที่จะขอเทียบโอนต้องศึกษามาแล้วไม่เกินแปดปีนับจากปีที่ลงทะเบียนเรียนจนถึงวันที่ขอเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิต
(๔) รายวิชาที่จะขอเทียบโอนต้องมีผลการศึกษาระดับ C ขึ้นไป หรือเทียบเท่า ยกเว้นกรณีของนักศึกษาซึ่งไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ในโครงการความร่วมมือผลิตบัณฑิตร่วมกัน
หรือโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการให้เทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิตตามผลการศึกษาที่ได้
นอกจากหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง คณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจําคณะ
อาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดการเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิตเพิ่มเติมจากความในวรรค หนึ่งก็ได้ โดยทําเป็นประกาศคณะและรายงานให้อธิการบดีเพื่อทราบ”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๒ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษา
ระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๒ ให้คณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจําคณะเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติ
การเทียบโอนและการโอนรายวิชาและหน่วยกิตตามหมวดนี้”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๔ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษา
ระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๔ การเทียบโอนความรู้และการให้หน่วยกิตจากการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยให้เทียบโอนได้รวมกันไม่เกินสามในสี่ของจํานวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ขอเทียบและต้องมี
เวลาศึกษาในหลักสูตรที่รับเทียบโอนไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษาจึงจะมีสิทธิ์สําเร็จการศึกษาอาจทําได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิการบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยกําหนด
โดยออกเป็นประกาศมหาวิทยาลัยและให้บันทึกอักษร ACC ในรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้เทียบโอนความรู้นั้น
คณะอาจดําเนินการตามวรรคหนึ่งโดยจัดให้มีการทดสอบ ข้อเขียนหรือสอบปฏิบัติ
เพื่อการเทียบโอน หรือพิจารณาโดยใช้ผลการประเมินของหน่วยงานฝึกปฏิบัติงานก็ได้”
ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๗/๑ การโอนรายวิชาและหน่วยกิต ข้อ ๓๔/๑
และข้อ ๓๔/๒ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑
“หมวด ๗/๑
การโอนรายวิชาและหน่วยกิต
————————-
ข้อ ๓๔/๑ นักศึกษาที่ศึกษารายวิชาในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดการศึกษาหรือจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นอาจขอโอนรายวิชาและหน่วยกิตได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีเนื้อหาของรายวิชาเทียบเท่ากับรายวิชาในหลักสูตรที่ศึกษา
(๒) ให้โอนรายวิชาและหน่วยกิตได้ไม่จํากัดจํานวนรายวิชาและหน่วยกิตเฉพาะรายวิชา
ที่มีผลการศึกษาระดับ C ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(๓) กรณีการโอนมาเป็นรายวิชาบังคับและหน่วยกิตของหลักสูตรต้องศึกษามาแล้วไม่เกินแปดปี
(๔) กรณีการโอนมาเป็นรายวิชาเลือกและหน่วยกิตของหลักสูตรต้องศึกษามาแล้วไม่เกินสิบปี
นอกจากหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งคณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ประจําคณะ อาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดการโอนรายวิชาและหน่วยกิตเพิ่มเติมจาก
ความในวรรคหนึ่งก็ได้ โดยทําเป็นประกาศมหาวิทยาลัย หรือประกาศคณะและรายงานให้อธิการบดีเพื่อทราบ
ข้อ ๓๔/๒ ให้บันทึกผลการศึกษาในรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้โอนรายวิชาและ
หน่วยกิตตามผล การศึกษารายวิชาในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดการศึกษาหรือจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่น”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน ข้อ ๔๗ สถานภาพทางวิชาการของนักศึกษา ของข้อบังคับมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๔๗ สถานภาพทางวิชาการของนักศึกษาให้พิจารณาจากผลการคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่เรียน ดังนี้
(๑) นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ๒.๐๐ ขึ้นไปมีสถานภาพทางวิชาการปกติ (Normal)
(๒) นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า ๒.๐๐ มีสถานภาพทางวิชาการเตือน
ครั้งที่ ๑ (Warning ๑) เว้นแต่กรณีเป็นภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา ให้มีสถานภาพทางวิชาการเตือนพิเศษ (Warning)
(๓) นักศึกษาซึ่งอยู่ในสถาน ภาพทางวิชาการเตือนพิเศษตาม (๒) ในภาคการศึกษา
ที่ผ่านมา และมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ๑.๕๐ ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๒.๐๐ ในภาคการศึกษาถัดมา ให้มีสถานภาพ
ทางวิชาการ เตือนครั้งที่ ๑ (Warning ๑) แต่หากมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า ๑.๕๐ ในภาคการศึกษาถัดมา ต้องถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา (Dismissed)
(๔) นักศึกษาซึ่งอยู่ในสถานภาพทางวิชาการเตือนครั้งที่ ๑ ตาม (๒) และ (๓)
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า ๒.๐๐ ในภาคการศึกษาถัดมาให้มีสถานภาพ
ทางวิชาการเตือน ครั้งที่ ๒ (Warning ๒)
(๕) นักศึกษาซึ่งอยู่ในสถานภาพทางวิชาการเตือนครั้งที่ ๒ ตาม (๔) ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า ๒.๐๐ ในภาคการศึกษาถัดมาให้มีสถานภาพทางวิชาการภาวะรอพินิจ (Probation)
(๖) นักศึกษาซึ่งอยู่ในสถานภาพทางวิชาการภาวะรอพินิจ ตาม (๕) ในภาคการศึกษา
ที่ผ่านมา และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า ๒.๐๐ ในภาคการศึกษาถัดมาต้องถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา (Dismissed)
ในกรณีที่นักศึกษาสอบได้รายวิชาครบตามจํานวนหน่วยกิตที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดหลักสูตรแล้ว
มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ๑.๘๐ ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๒.๐๐ และต้องถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษาตาม (๖) อธิการบดีอาจอนุมัติให้นักศึกษาผู้นั้นศึกษาต่อในหลักสูตรเดิม หรือย้ายหลักสูตร แต่นักศึกษา
ต้องศึกษาให้ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมถึง ๒.๐๐ ภายในสามภาคการศึกษา และต้องศึกษาให้สําเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาตาม ข้อ ๑๑ นับแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗๐ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๗๐ มหาวิทยาลัยอาจคืนค่าธรรมเนียมที่นักศึกษาชําระให้แก่มหาวิทยาลัยไว้แล้ว
ในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
(๑) นักศึกษาลาออกหรือลาพักการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษา ให้มีสิทธิขอคืนได้เต็มจํานวน
ที่ชําระไว้
(๒) นักศึกษาลาออกหรือลาพักการศึกษา ภายในสิบสี่วันนับแต่วันเปิดภาคการศึกษา
ให้มีสิทธิขอคืนได้กึ่งหนึ่ง
(๓) นักศึกษาขอถอนรายวิชาเพราะมหาวิทยาลัยปิดรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนไว้ให้มีสิทธิขอคืนค่าธรรมเนียมรายวิชาและค่าธรรมเนียมการใช้อุปกรณ์การศึกษาในรายวิชานั้นได้เต็มจํานวน
เว้นแต่กรณีเป็นการชําระค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่ายไม่อาจขอคืนค่าธรรมเนียมในรายวิชาที่ปิดได้
(๔) นักศึกษาขอถอนรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไว้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันเปิดภาค การศึกษา หรือเจ็ดวันนับแต่วันเปิดภาคฤดูร้อน ให้มีสิทธิขอคืนค่าธรรมเนียมรายวิชาและค่าธรรมเนียม
การใช้อุปกรณ์การศึกษาในรายวิชานั้นได้กึ่งหนึ่ง เว้นแต่กรณีเป็นการชําระค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่ายไม่อาจ
ขอคืนค่าธรรมเนียมในรายวิชาที่ถอนได้
(๕) นักศึกษาที่ถูกลงโทษทางวินัยนักศึกษาให้พักการศึกษาในภาคการศึกษาถัดไปแต่ได้ลงทะเบียนเรียนและชําระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในภาคการศึกษาที่ถูกลงโทษไว้แล้ว ให้มีสิทธิขอคืนได้เต็มจํานวนที่ชําระไว้
นักศึกษาที่มีความประสงค์ขอคืนเงินค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งต้องยื่นคําร้องต่อคณะ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันเปิดภาคการศึกษาหรือภาคฤดูร้อน หากพ้นกําหนดเวลานั้น ให้ถือว่าสละสิทธิ์
การยกเว้นค่าปรับหรือลดค่าปรับให้อธิการบดีโดยข้อเสนอของคณบดีมีอํานาจพิจารณายกเว้น ค่าปรับหรือลดค่าปรับได้”
ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษญบุตร)
นายกสภามหาวิทยาลัย