ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง รางวัลสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและเผยแพร่งานสร้างสรรค์
ประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔
——————————–
ด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/ ศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ จึงเห็นควรให้มีรางวัลสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ ประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบข้อ ๑๖ วรรค ๒ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการบริหารงานวิจัยและกองทุนวิจัย พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและกองทุนวิจัยในคราวประชุมครั้งที่
๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔ อธิการบดีจึงออกประกาศไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง รางวัลสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ ประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๔”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก “ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้รางวัลสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ ประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๓” และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“รางวัล” หมายความว่า รางวัลสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ ประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
“วิจัย” หมายความว่า วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และศิลปนิพนธ์
“นักศึกษา” หมายความว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อ ๕ รางวัลสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ ประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับบทความที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์หรือตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการ มีดังนี้
(๑) วารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล Scopus หรือ ISI Web of Science
ที่ถูกจัดให้อยู่ในการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank) สูงสุดร้อยละ ๑o (TOP 10%) ของสาขา รางวัลละ ๕๐,๐๐๐ บาท
(๒) วารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล Scopus หรือ ISI Web of Science
ซึ่งถูกจัดอยู่ในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank) ควอไทล์ที่ ๑ (Q1) รางวัลละ
๔o,ooo บาท
(๓) วารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล Scopus หรือ ISI Web of Science
ซึ่งถูกจัดอยู่ในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank) ควอไทล์ที่ ๒ (Q2) รางวัลละ
๓๐,๐๐๐ บาท
(๔) วารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล Scopus หรือ ISI Web of Science
ซึ่งถูกจัดอยู่ในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank) ควอไทล์ที่ ๓ (Q3) รางวัลละ
๒๐,๐๐๐ บาท
(๕) วารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล Scopus หรือ ISI Web of Science ซึ่งถูกจัดอยู่ในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank) ควอไทล์ที่ ๔ (Q4) หรือ วารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ Thai Journal Citation Index (TCI) กลุ่มที่ ๑ รางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท
กรณีผู้เสนอขอรับรางวัลเสนอบทความมากกว่า ๑ บทความ จะได้รับการพิจารณาจัดสรรให้รางวัลแก่บทความประเภทที่มีเงินสนับสนุนสูงสุดเพียง ๑ รางวัล
การพิจารณาว่าวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ใดจะพิจารณาจาก
(๑) ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank) ของปีที่คณะกรรมการกำหนด และกรณีที่วารสารถูกจัดอยู่ใน subject category มากกว่า ๑ สาขา หรืออยู่ในควอไทล์ที่ต่างกันจะได้รับรางวัลในระดับควอไทล์สูงสุดเพียงรางวัลเดียว
(๒) กรณีวารสารปรากฎอยู่ในฐานข้อมูล ISI Web of Science แต่ไม่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus และไม่มีค่าการจัดอันดับของวารสาร SJR ให้ใช้ค่าควอไทล์ จากการจัดอันดับของ Web of Science ได้
ข้อ ๖ ผู้ที่จะได้รับรางวัลตาม ข้อ ๕ จะต้องมีสถานะเป็นนักศึกษาอยู่ในวันที่นักศึกษายื่นใบสมัครขอรับทุนที่หน่วยงานต้นสังกัด และได้ศึกษาในแผนทำวิทยานิพนธ์ (แผน ก.) หรือศึกษาแผนทำสารนิพนธ์/ศิลปนิพนธ์ (แผน ข.)
ข้อ ๗ ผลงานที่จะเสนอขอรับรางวัลตามข้อ ๕ จะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
- เป็นบทความที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ หรือตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการ ไม่เกินหนึ่งปี
นับจากวันที่ยื่นใบสมัครขอรับรางวัลที่ส่วนงานที่นักศึกษาสังกัด - กรณีเป็นบทความที่มีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน ต้องเป็นผลงานของนักศึกษาไม่น้อยกว่า
ร้อยละ ๕๐ โดยมีหนังสือรับรองที่มีการลงนามของผู้ประพันธ์ทั้งหมดด้วย - ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และหัวหน้าส่วนงาน
ข้อ ๘ ผลงานที่จะเสนอรับรางวัลตามข้อ ๕ ต้องไม่มีลักษณะเป็นผลงานที่เคยได้รับรางวัลสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ ประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา หรือประเภทการตีพิมพ์บทความวิจัย หรือประเภทการตีพิมพ์บทความทางวิชาการ หรือรางวัลอื่นที่มีลักษณะเดียวกันจากโครงการบัณฑิตศึกษาของส่วนงาน หรือส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือหน่วยงานอื่นมาก่อน
ข้อ ๙ การเสนอขอรับรางวัลตามข้อ ๕ ให้ดำเนินการตามวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) ให้นักศึกษาผู้มีคุณสมบัติตามประกาศ กรอกแบบเสนอขอรับรางวัลพร้อมเอกสารที่แสดงรายละเอียดประกอบการขอรับรางวัลตามประเภทที่ตนสมัคร และจัดส่งไปยังส่วนงานที่ตนสังกัด
(๒) ให้ส่วนงานดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับรางวัลและลักษณะของผลงาน หากปรากฏผู้ขอรับรางวัลมีคุณสมบัติ และผลงานที่ขอมีลักษณะตามข้อ ๗ และไม่มีลักษณะตามข้อ ๘ ให้ส่งเรื่องให้
กองบริหารการวิจัยรวบรวมนำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ)
อธิการบดี