ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร พ.ศ.๒๕๖๑
……………………………………………..
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓ (๒) และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และโดยมติสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ จึงเห็นชอบให้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคล
ผู้ดำรงตำแหน่งบริหาร ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒ ในข้อบังคับนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
“ผู้บริหาร” หมายความว่า อธิการบดี หรือคณบดี หรือผู้อำนวยการสถาบัน
หรือผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการศูนย์ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
ข้อ ๓ ให้สภามหาวิทยาลัยประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารตามกำหนดเวลา ดังนี้
(๑) อธิการบดี เมื่อดำรงตำแหน่งครบทุกหนึ่งปีครึ่ง
(๒) คณบดี หรือผู้อำนวยการสถาบัน หรือผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการศูนย์
หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ เมื่อดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีครึ่ง
ข้อ ๔ ให้ผู้บริหารจัดทำเป้าหมายและแผนการปฏิบัติงานเสนอให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาหลังจากสภามหาวิทยาลัยมีมติให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในหน่วยงานนั้นภายในเวลาเก้าสิบวัน โดยเป้าหมาย
และแผนการปฏิบัติงานนั้น จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและแผนของมหาวิทยาลัย โดยต้องประกอบด้วยเป้าหมาย ๕ ด้าน ดังต่อไปนี้
(๑) ด้านการสร้างบัณฑิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
(๒) ด้านการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน
(๓) ด้านการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย
(๔) ด้านการเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ
(๕) ด้านการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
ข้อ ๕ ก่อนครบกำหนดเวลาตามข้อ ๓ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการ สำหรับผู้บริหารที่จะดำรงตำแหน่งบริหารครบกำหนดเวลาตามองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) อธิการบดี
(ก) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ หนึ่งคน ประธานกรรมการ
(ข) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ สองคน กรรมการ
(ค) ประธานสภาอาจารย์ หรือผู้แทน กรรมการ
(ง) ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย หรือผู้แทน กรรมการ
(จ)[๑] เลขานุการสภามหาวิทยาลัยหรือผู้ช่วยเลขานุการ
สภามหาวิทยาลัยที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย กรรมการและเลขานุการ
(ฉ) ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย ผู้ช่วยเลขานุการ
(ช) ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานสภามหาวิทยาลัย หนึ่งคน ผู้ช่วยเลขานุการ
_______________
[๑] ข้อ ๕ (๑) (จ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ของผู้บริหาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓
[๒] ข้อ ๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ของผู้บริหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๑
[๓] ข้อ ๕ (๒) (ฉ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ของผู้บริหาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓
(๒)[๒] คณบดี หรือผู้อำนวยการสถาบัน หรือผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการศูนย์ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
(ก) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ หนึ่งคน ประธานกรรมการ
(ข) อธิการบดี กรรมการ
(ค) คณบดี หรือผู้อำนวยการสถาบัน หรือผู้อำนวยการ
สำนัก หรือผู้อำนวยการศูนย์หรือหัวหน้าหน่วยงาน
ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ซึ่งมิใช่
ผู้ถูกประเมินผลการปฏิบัติงาน หนึ่งคน กรรมการ
(ง) ประธานสภาอาจารย์ หรือผู้แทน กรรมการ
(จ) ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัย หรือผู้แทน กรรมการ
(ฉ)[๓] เลขานุการสภามหาวิทยาลัยหรือผู้ช่วยเลขานุการ
สภามหาวิทยาลัยที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย กรรมการและเลขานุการ
(ช) ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย ผู้ช่วยเลขานุการ
(ซ) ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานสภามหาวิทยาลัย หนึ่งคน ผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๖ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาตามข้อ ๓ ให้ผู้บริหารจัดทํารายงานประเมิน
ผลการปฏิบัติงาน ทั้งที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว ที่กําลังปฏิบัติอยู่ และที่ยังมิได้ปฏิบัติ พร้อมเอกสารอ้างอิง
เสนอต่อคณะกรรมการ โดยจะต้องคํานึงถึงความสอดคล้องในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) เป้าหมายและแผนปฏิบัติงานตามที่ได้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัยไว้ตามข้อ ๔
(๒) นโยบายและแนวทางการบริหารที่ได้แถลงไว้ต่อประชาคมในกระบวนการสรรหา
ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารผู้ถูกประเมิน ในประเด็นดังต่อไปนี้
(๑) เป้าหมายและแผนการปฏิบัติงานที่ผู้บริหารผู้ถูกประเมินได้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
ไว้ตามข้อ ๔
(๒) นโยบายและแนวทางการบริหารที่ผู้บริหารผู้ถูกประเมินได้แถลงไว้ต่อประชาคม
ในกระบวนการสรรหา
(๓) การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ดังต่อไปนี้
(๓.๑) ความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity)
(๓.๒) การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effective)
(๓.๓) การปฏิบัติตามกติกาหรือกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และสิ่งที่ตกลงกัน
ของประชาคม (Following the Rule of Law)
(๓.๔) โปร่งใส – ไม่ปิดบังข้อมูลสาธารณะ (Transparent)
(๓.๕) รับผิดชอบต่อผลงานและตรวจสอบได้ (Accountable)
(๓.๖) ตอบสนองต่อหน้าที่และชี้แจงข้อสงสัย (Responsive)
(๓.๗) สร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Participatory)
(๓.๘) นำข้อคิดเห็นหรือปัญหาของทุกฝ่ายมาคำนึงถึง (Inclusive)
(๓.๙) มุ่งไปสู่การเห็นพ้องต้องกัน เมื่อเกิดความเห็นต่างหรือความขัดแย้ง (Consensus Oriented)
ข้อ ๘ ในการเสนอผลการประเมินต่อสภามหาวิทยาลัย ให้คณะกรรมการจัดทำรายงานประกอบด้วยผลการประเมิน พร้อมด้วยปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัดอื่นในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
ผู้ถูกประเมิน รวมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ในประการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาหรือปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ผู้ถูกประเมินผู้บริหารอื่น หน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยต่อไปด้วย
ให้คณะกรรมการส่งสำเนารายงานผลการประเมินตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคล/กลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้บริหารผู้ถูกประเมิน
(๒) คณะกรรมการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการสรรหาผู้บริหารหน่วยงาน
ที่ผู้บริหารผู้ถูกประเมินดำรงตำแหน่ง แล้วแต่กรณี เพื่อใช้ประกอบการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยหรือผู้บริหารหน่วยงานที่ผู้บริหารผู้นั้นดำรงตำแหน่ง แล้วแต่กรณีต่อไป
ข้อ ๙ ให้สภามหาวิทยาลัยประเมินรายงานจากคณะกรรมการพร้อมสรุปความเห็นเพื่อเสนอแนะแก่ผู้บริหารผู้ถูกประเมินเพื่อนำไปประกอบการบริหารงานและการปฏิบัติงานต่อไป
ข้อ ๑๐ เมื่อคณบดี หรือผู้อำนวยการสถาบัน หรือผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการศูนย์
หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
หรือดำรงตำแหน่งครบวาระ ๓ ปี ให้จัดทำรายงานการประเมินตนเองเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่สภามหาวิทยาลัย
ได้แต่งตั้งไว้แล้ว ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงมีอำนาจและหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารตามที่ได้รับแต่งตั้งต่อไปได้จนแล้วเสร็จ
ข้อ ๑๒ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
(ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร)
นายกสภามหาวิทยาลัย